วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Situational Leadership I หรือ ผู้นำตามสถานการณ์ (ตอนที่ 1)


วันนี้...ขอต่อเรื่อง ความสัมพันธ์ของ หัวหน้า-ลูกน้อง ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายของงาน หรือ เกิดผลงานตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นบทต่อจากหัวข้อเรื่องลักษณะพนักงานที่พึงประสงค์ และ “ยอดมนุษย์พนักงาน” ที่บริษัทพึงใจ
"ผลงาน"จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่นั้น มีปัจจัยสำคัญ 3 ส่วน ตามภาพความสัมพันธ์ คือ
+_+ ความพร้อมของผู้ปฏิบัติตาม (Readiness of Followers หรือ 'R') ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้ง วุฒิภาวะ ความรู้ ประสบการณ์ ตามทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ หรือ Situational Leadership ของ Hersey & Blanchard แบ่งคุณลักษณะของลูกน้อง 4 กลุ่ม คือ R1-R2-R3-R4 ซึ่งขออธิบายให้เห็นภาพชัดขึ้นโดยโดยเปรียบเทียบลักษณะบัว 4 เหล่า ในทางพุทธศาสนา คือ 

(-๐-) กลุ่มคนประเภท R1 (บัวในตม) จะมีวุฒิภาวะต่ำ ความสามารถน้อย และขาดความรับผิดชอบ
+_+ ลักษณะของหัวหน้างาน และ
+_+ วิธีการสั่งการ/มอบหมายงาน
จะอธิบายความสัมพันธ์ทั้ง 3 ส่วน ประกอบกับตัวอย่างให้เห็นภาพในครั้งต่อไปนะคะ


(*๐*) กลุ่มคนประเภท R2 (บัวกลางน้ำ) จะมีวุฒิภาวะปานกลาง ขาดประสบการณ์เช่นเดียวกับ R1 แต่มีความเต็มใจที่จะรับผิดชอบงาน
(+๐+) กลุุ่มคนประเภท R3 (บัวปริ่มน้ำ) จะมีวุฒิภาวะค่อนข้างสูง แต่ขาดความมั่นใจ ขาดแรงจูงใจ ต้องเห็นด้วยกับเหตุผลจึงจะปฏิบัติ
(^๐^) กลุ่มคนประเภท R4 (บัวพ้นน้ำ) มีวุฒิภาวะสูง มั่นใจสูง มีความเต็มใจรับผิดชอบในงานที่รับมอบหมาย เป็นกลุ่มบุคคลที่ดีที่สุด
+++++ บทสรุปของกลุ่มบุคคลตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์นี้ ในทางบริหารจัดการ "หัวหน้างาน" และ HR สามารถจะพัฒนาศักยภาพในการมอบหมายงานให้ปฏิบัติบรรลุตามเป้าหมายได้ ...แต่หากบริษัทของท่านมีกลุ่มบุคคลประเภท "บัวเหล่าที่ 5 คือบัวในตมที่โบกทับด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กและฝังระเบิดเวลาไว้ด้วยแล้ว ทั้ง "หัวหน้างาน" และ HR คงต้องเร่งศึกษาหาทางบริหารจัดการ???? นอกเหนือจากทฤษฎีของHersey & Blanchard+++++
สำหรับปัจจัยอีก 2 ส่วน คือ 
+_+ ลักษณะของหัวหน้างาน และ
+_+ วิธีการสั่งการ/มอบหมายงาน
จะอธิบายความสัมพันธ์ทั้ง 3 ส่วน ประกอบกับตัวอย่างให้เห็นภาพในครั้งต่อไปนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น