วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เด็กจบใหม่ก้อ..อยากทำงานนะ..แล้วไง? ตอน I

เมื่อวาน...กินข้าวเย็นกับเพื่อนๆ ก็ทักทายกันตามประสาแม่ๆ ..ลูกเรียนจบแล้วหรือยัง? ... เกือบจบแล้วล่ะ แต่สงสัยจะตกงานแหละ? ...เราก็กังวลเหมือนกัน มันน่าแปลกจริงๆ เพราะ ในความคิดของเรา เด็กสมัยนี้เก่ง ฉลาด กล้าแสดงออกมากกว่าคนในยุคเรา และการเข้าถึงข้อมูล สืบค้นหางานก็ง่ายแสนง่าย ทาง social media ซึ่งบรรจุแหล่งข้อมูลความรู้ ทุกประเภท รวมทั้งรายละเอียดบริษัทต่างๆ ได้ ง่ายๆ สบาย ไม่ต้องนั่งรถฝ่าดงควัน เดินต๊อกๆ เหงื่อแตกพลั่กๆ ดูประกาศรับสมัครงานหน้าบริษัทต่างๆ หรือ ซื้อหนังสือพิมพ์หางานสูดกลิ่นแอมโมเนียน้ำหมึกจนหน้ามึน...ตาม website หางาน jobsdb.com, jobtopgun.com, jobthai.com, nationejob.com, jobbees.com, jobbkk.com ฯลฯ เห็นมีประกาศรับสมัครงานหลากหลายตำแหน่ง...แต่ทำไมจึงมีเด็กจบใหม่ตกงานจำนวนมาก??
...ข้อมูลของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ประมาณการจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าใหม่ ช่วงปี 2550-2559 ปีละ 5 แสนคน และในช่วงปีเดียวกันนั้น จะมีบัณฑิตระดับปริญญาตรีจบใหม่ปีละประมาณ 3-4 แสนกว่าคน
...ข้อมูลการสำรวจประชากรเดือน ตุลาคม 2558 ของ สสช. (สำนักงานสถิติแห่งชาติ) มีผู้ว่างงานทั้งสิ้น 3.28 แสนคน และเป็นบัณฑิตจบใหม่ถึง 1.42 แสนคน (โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์ เช่น วารสารศาสตร์ สารสนเทศ ศิลปกรรมศาสตร์ ฯลฯ เนื่องจากเป็นสาขาที่ผลิตกำลังคนเกินความต้องการของตลาดต่อเนื่อง) รองลงมาเป็นระดับประถมศึกษา 56,000 คน มัธยมศึกษาตอนปลาย 53,000 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 51,000 คน และผู้ไม่มีการศึกษาหรือต่ำกว่าระดับประถม 26,000 คน
...ข้อมูลของกระทรวงแรงงาน คาดการณ์ความต้องการแรงงานระดับปริญญาตรีของกระทรวงแรงงาน ในปี 2555-2559 ประมาณ 145,348 คนต่อปี ดังนั้น บัณฑิตจบใหม่ช่วงปี 2555-2559 จำนวนหนึ่งไม่มีงานทำ และจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อน้องๆ นิสิตนักศึกษาช่วงปี 2555-2559 เรียนจบ
{{{(>_<)}}} เป็นตัวเลขที่น่าตกใจและถือว่าเป็นการลงทุน “ขาดทุน” ในฐานะที่เราก็เป็น”แม่” หรือ สปอนเซอร์ของลูก ลองคิดคำนวณ “ต้นทุน” การศึกษา ตั้งแต่ nursery จนจบมหาวิทยาลัย แค่แบบปกติที่ไม่ใช่โรงเรียน 2 ภาษา หรือ ภาคอินเตอร์ ระยะเวลาลงทุน (Investment) 3+6+6+4 รวมระยะเวลา 19 ปี ตัวเลขยังเกาะอยู่ที่ 7 หลักต้นๆ และเมื่อไม่มีงานรองรับ ผู้ปกครองส่วนใหญ่รวมทั้งตัวเราด้วยจะ “กัดฟัน” สู้ต่อ “ต้องระดมทุน” ให้ลูกเรียนปริญญาโท หรือมหาบัณฑิตทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับฐานะและการระดมทุน เพื่อคาดหวังโอกาสในตลาดแรงงาน อีกระดับ ...แต่...ถ้าผู้ปกครองไม่สามารถระดมทุนส่งลูกเรียนปริญญาโทต่อ...บัณฑิตจบใหม่ และตกงาน จะทำอย่างไร? {{{(>_<)}}}
นักวิชาการการศึกษา เศรษฐศาสตร์ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาครัฐ ได้ศึกษา วิเคราะห์หาสาเหตุทำไมเด็กจบใหม่จึงตกงาน รวมทั้งบางหน่วยงานสำรวจความคิดเห็นของ “ผู้ประกอบการ” คาดหวังอะไรหรือมีมุมมองอย่างไรต่อเด็กจบใหม่ ซึ่งจะสรุปผลสำรวจและแนวทางให้กับบัณฑิตจบใหม่ในครั้งต่อไป
จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เราสรุปได้สั้น ๆ ว่า สาเหตุที่บัณฑิตใหม่ตกงาน “เพราะเรียนไม่ตรงกับความต้องการของตลาด” เช่น คณะที่เคยเป็นที่ต้องการเมื่อ 4 ปี ที่แล้ว แต่ความต้องการในตลาดลดลงขณะที่กำลังเรียน จบมาจึงไม่มีตำแหน่งงานว่าง หรือ เลือกเรียนตามกระแสนิยม หรือไม่สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ชอบ เลือกเรียนคณะไหน มหาวิทยาลัยใดก็ได้ที่เรียนง่าย จบง่าย และ ด้านหน่วยงานภาครัฐ กกจ. กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน...ปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศจะเป็นกลุ่มที่ใช้ฝีมือน้อยหรือไร้ฝีมือ มากกว่ากลุ่มปริญญาตรี และแนะให้ สถานบันการศึกษา“ผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด” .... ขณะนี้จะมีสัญญาณเตือนเด็ก ๆ ในเรื่องการว่างงาน แต่ตำแหน่งงานว่างยังมีอยู่ เพียงแต่ว่าอย่าเลือกงาน http://www.ops.moe.go.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=6743:2016-03-07-02-39-20&catid=53:2014-10-07-06-57-22
...จากประสบการณ์ทำงานด้านสรรหาว่าจ้าง (Staffing) เคยไปจัด job fair ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ณ ช่วงเวลานั้นตลาดแรงงานขาดแคลนตำแหน่ง จป.วิชาชีพ หรือ Safety Officer ที่มีความรู้ด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม หรือ Occupation Health-Safety-Environment มาก เพราะ มีเพียงมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้นที่ผลิตนักศึกษา SHE ตรงกับสายงาน แต่ผลิตได้ปีละประมาณ 50 คน เท่านั้น กระทรวงแรงงานจึงเปิดให้มีการอบรม เพื่อรับวุฒิบัตร จป. บริษัทต่างๆ ส่งพนักงานวุฒิ ปวส. ขึ้นไปเข้ารับการอบรมจากกระทรวงแรงงาน และ สถาบันฝึกอบรมที่ได้รับการรองรับวิทยฐานะ เช่น ปิ่นทอง NPC S&E อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องการจะจัดทำ ISO14000 (มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม) และ ISO18000 (มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) บริษัทจึงต้องการพนักงานที่มีความรู้ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม มากกว่าวุฒิบัตร จป.วิชาชีพ  
(◕‿◕✿) ในงาน Job Fair ปีนั้น... มีนิสิตปี 4 เรียนภาควิชาสิ่งแวดล้อมมาสมัครงานหลายคน เราชอบน้องๆ ทุกคน เพราะไหวพริบดี อุปนิสัยดี ...แต่ติดตรงที่น้องๆ ไม่มีใบ จป.วิชาชีพ ทำให้รับสมัครไม่ได้ จึงแนะนำว่าหลักสูตรที่เรียนดีอยู่ดีมากและตรงกับงาน แต่ตามกฎหมายเจ้าหน้าที่ต้องมีใบ จป. ที่มหาวิทยาลัยมีไปเรียนเพิ่มเติมไหม หรือไปเรียนจากสถาบันที่ได้รับใบอนุญาต เช่น ปิ่นทอง หรือ NPC S&E หรือไปลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แล้วให้มาสมัครงานใหม่ หรือเคยรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย IE- Industrial Engineer มาทำงาน ความรู้ทั้งหมดของ IE ที่น้องมี ตรงกับงานทุกอย่างทำให้เรียนรู้งานได้เข้าใจไวมาก ญี่ปุ่นชมเชย แต่ถ้าน้องมีวุฒิหรือประกาศนียบัตร จป. วิชาชีพ จะทำงานได้ดีมากๆๆ และตรงกับงานมากกว่านี้(◕‿◕✿)
(◡‿◡✿) ทั้ง 2 กรณี เราทำหนังสือถึงอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย (เป็นเพื่อนกัน) ให้ลองนำเสนอในที่ประชุมเผื่อจะเป็นประโยชน์แก่เด็กที่เรียนหนังสือ และเป็นคุณแก่ผู้ประกอบการ ถ้ามหาวิทยาลัยมีการเสริมหลักสูตรเพิ่มเติม จป. สำหรับ คณะที่สามารถจะประยุกต์วิชาความรู้หลักที่มีในการทำงานด้านนี้ 
ดังนั้น ในความคิดเห็นของเรา ในสายตาของอดีตผู้ประกอบการ ...ประเด็นที่นิสิตนักศึกษาเลือกเรียนภาควิชาไม่ตรงกับความต้องการของตลาดนั้น เด็กๆ ไม่น่าจะรู้หรือเข้าใจว่าที่เลือกเรียนนั้น ตรงกับตลาดแรงงานหรือนำไปปรับประยุกต์ในการทำงานอะไรได้บ้าง
.. น่าจะเป็นการบ้านของ "สถาบันการศึกษา ในการประสานงานสอบถามความต้องการของภาคธุรกิจ" ในเรื่อง Functional Competency ในการทำงานเพื่อนำไปออกแบบจัดหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน...และที่สำคัญควรจะเป็นลักษณะที่สามารถประยุกต์ข้ามสายงานหรือต่อยอดงาน cross function ในการทำงาน 
สำหรับ “ผู้ประกอบการ” คาดหวังอะไรหรือมีมุมมองอย่างไรต่อเด็กจบใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะในการทำงาน จะสรุปในครั้งต่อไป
ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ และ นสพ. ผู้จัดการ 
พี่ตุ้ม (พรทิพา สมประสงค์) 18-5-2559 https://hrodconsultant.blogspot.com/
..:* *.:*'゚・..:* *.:*¨..:* *.:*'゚・..:* *.:*¨
#HROD #Consultant

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น