วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โบนัส...เงินรางวัลพิเศษ

โบนัส...เงินรางวัลพิเศษ
<º))))> โบนัส... เงินก้อนที่บริษัททั่วไปจ่ายให้พนักงานช่วงปีใหม่สิ้นปี หรือตรุษจีน หรือสงกรานต์ เพื่อเป็นเงินรางวัลพิเศษให้แก่พนักงานได้ใช้จ่ายในช่วงหยุดยาวเทศกาลปีใหม่ แต่มีหลายบริษัทที่จ่ายโบนัสมากกว่าปีละ 1 ครั้ง เป็นการทยอยจ่าย เพื่อบริหารกระแสเงินสดหรือ Cash Flow ของบริษัท และอาจเป็นตัวช่วยยื้อการลาออกของพนักงาน เพราะพนักงานที่จะลาออกช่วงจ่ายโบนัส คงต้องคิดหนัก เสียดายโบนัสที่กำลังจะได้
.·´¯`·.· .·´¯`·.><((((º> สำหรับรูปแบบการจ่ายเงินโบนัส ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ในการมองว่า “โบนัส” คืออะไร?
  • ถ้า...บริษัทมองว่า “โบนัส” คือ เงินรางวัลพิเศษ ที่บริษัทจ่ายเป็นการตอบแทนพนักงานเมื่อผลกำไรของบริษัทเป็นไปตามเป้าหมาย..อาจจะจ่ายโบนัสให้พนักงานทุกคนเท่ากัน แต่การปรับขึ้นเงินเดือน เป็น % ลดหลั่นตามผลปฏิบัติงาน..หรือ
  • ถ้า...บริษัทมองว่า “โบนัส” คือ เงินที่บริษัทจ่ายเป็นการตอบแทนพนักงานแต่ละคนที่ทุ่มเททำงาน เพื่อให้บริษัทบรรลุตามเป้าหมายของงานและผลกำไร บนสมมติฐานที่พนักงานแต่ละคนทุ่มเทในการทำงานไม่เท่ากัน...จะกำหนดหลักเกณฑ์ประเมินผลงาน หรือพฤติกรรม บางบริษัทอาจจะใช้ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี หรือ Performance Appraisal มาเป็นกำหนด % การจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน
{{{(>_<)}}} งานแรกของปี 2559 คือ การจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินพฤติกรรมและผลงานเพื่อจ่ายโบนัส และปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี ลูกค้าเป็นธุรกิจออกแบบและติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ให้กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นแนวหน้า ขนาดของบริษัทไม่ใหญ่นัก จำนวนพนักงานเกือบร้อยคน ผลประกอบการอยู่ในเกณฑ์ดี ที่ปลื้มจนต้องหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง คือ “ความคิดในการบริหารจัดการ...คน...ของ MD ซึ่งเป็นถาปนิก เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ และ ทิศทาง การบริหาร “คน” ในมุมมองพนักงานทุกคนเป็นเสมือนพี่น้องญาติมิตร เป็นผู้นำที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน หรือ Inspiration Leadership และเป็นผู้กำหนดนโยบายกำกับดูแลงาน HR เอง โดยการลองผิดลองถูก ปรับวิธีการบริหารจัดการ “คน” MD เปิดโอกาสให้พนักงานที่มีข้อสงสัย คับข้องใจสอบถาม MD ได้โดยตรง
(^__^) ในปัจจุบัน บริษัทมีหลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหารงาน HR โดยไมมีหน่วยงาน HR หรือ คน HR มากำกับดูแล แต่พิจารณาเลือกใช้บริการงานที่ปรึกษา HROD เช่นเรา...มาช่วยจัดทำระบบ HR ที่จำเป็นต้องมีให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของบริษัท และแนวคิดการบริหารบุคคลที่ได้มีการคิด ลองผิดลองถูกให้มีหลักเกณฑ์อย่างเป็นระบบ รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงช่วยจัดการประเด็นปัญหา หรือให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีภารกิจหน้าที่หลักอยู่แล้ว เช่น MD-หน่วยงานบัญชี ในการบริหารระบบ HR เป็นต้น
●﹏● การจ่ายโบนัสในปีที่ผ่านมา... บริษัทจ่ายโบนัสให้พนักงานทุกคน...แต่...จำนวนโบนัสแตกต่างกันตาม “ความทุ่มเท” ในการทำงานโดยดูจากพฤติกรรมพึงประสงค์ในการทำงาน ซึ่งบริษัทได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณา 3 ส่วน คือ
1) จำนวนวันลา เหตุผล คนที่มาทำงานไม่ขาด ลา มาสาย เป็นคนที่ตั้งใจจะมาทำงาน (40%)
2) โทษทางวินัย คนที่ปฏิบัติตามระเบียบบริษัทและให้ความร่วมมือ จะไม่ถูกโทษทางวินัย และ (30%)
3) ประเมินลักษณะพึงประสงค์ในการทำงาน (30%) โดยแบ่งคะแนน 5 ระดับ ตั้งแต่แย่ - ดีมาก
  • หลักเกณฑ์ที่บริษัทนี้นำมาใช้นับว่าดี แต่...สัดส่วนน้ำหนักของคะแนน...การให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมพึงประสงค์ในการทำงานค่อนข้างน้อยเกินไป...ลองคิดดู...ถ้าพนักงานมาทำงาน ไม่ลา ไม่สาย และไม่เคยรับโทษทางวินัย จะได้คะแนนแบบส้มหล่น 40 + 30 = 70 และได้คะแนนจากการประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ได้ 10 (แค่พอใช้ค่อนไปทางแย่) แต่กลับได้เกรด “ดี” เพราะคะแนนรวม0 + 30 + 10 = 85 เราจึงนำเสนอให้ปรับสัดส่วนคะแนนเป็น 30 : 10 : 60 โดยเน้นการประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์
  • แบบประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ในการทำงานที่ใช้อยู่นั้น จะระบุชื่อพฤติกรรมพึงประสงค์ แตไม่มีคำอธิบาย ผู้ประเมินจะนึกเองว่าพฤติกรรมของพนักงาน ควรเป็นเท่าไรใน 5 ระดับคะแนน (แย่ - ดีมาก) เราจึงจัดกลุ่มพฤติกรรม กำหนดนิยามอธิบายพฤติกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจน แต่ละหัวข้อพฤติกรรมพึงประสงค์ จัดแบ่งเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับอธิบายพฤติกรรมย่อยพึงประสงค์บนพื้นฐานสมรรถนะหลัก (Core Competency) เรายังคงกำหนดคะแนน 5 ระดับ เช่นเดิม แต่เปลี่ยนการเรียชื่อ ในมุมมองเชิงบวก คือ 0 (ไม่แสดงพฤติกรรมเลย) ถึง 5 (แสดงพฤติกรรมเด่นชัด) แทน แย่ - ดีมาก
ตัวอย่างหัวข้อการประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ การตระหนักถึงคุณภาพและความปลอดภัย: พิจารณาการปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง มุ่งมั่น เอาใจใส่ต่อมาตรฐานคุณภาพของงาน และความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น ในทุกขั้นตอนอย่างละเอียดรอบคอบอยู่เสมอ รวมถึงแสวงหาแนวทางการป้องกันความผิดพลาดด้านคุณภาพ และอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน
  • ระดับที่ 1 ตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยและผลเสียของการเกิดเหตุอันตราย (กำหนดพฤติกรรมชี้วัดข้อย่อย)
  • ระดับที่ 2 แสดงพฤติกรรมในระดับ 1 + แสดงออกถึงความเป็นผู้ไม่ประมาท รอบคอบ และความไม่ปลอดภัยทั้งตนเองและผู้ร่วมงาน (กำหนดพฤติกรรมชีวัดข้อย่อย)
  • ระดับที่ 3 แสดงพฤติกรรมในระดับที่ 2 + วิเคราะห์ทางเลือกในการนำบริหารจัดการความปลอดภัยที่เหมาะสมปรับใช้ให้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด (กำหนดพฤติกรรมชี้วัดข้อย่อย)
สมรรถนะหลัก (Core Competency) ดังกล่าว นำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ในการทำงาน แบ่งเป็น 3 แบบฟอร์มประเมินฯ สำหรับพนักงาน 3 กลุ่ม คือ
  1. พนักงานกลุ่มปฏิบัติการ/พนักงานทั่วไป ประเมินพฤติกรรมฯ แต่ละหัวข้อในระดับ 1 เท่านั้น
  2. พนักงานกลุ่มวิชาชีพ/หัวหน้างาน ประเมินพฤติกรรมฯ แต่ละหัวข้อ 2 ระดับ คือ ระดับ 1 + ระดับ 2
  3. พนักงานกลุ่มผู้บริหาร ประเมินพฤติกรรมฯ แต่ละหัวข้อ 3 ระดับ คือ ระดับ 1 + ระดับ 2 + ระดับ 3
สำหรับปีหน้า เราได้นำเสนอรูปแบบการจ่ายโบนัสแบบใหม่ เป็นการจ่ายก้อนใหญ่ 1 เดือน ตามผลประกอบการของบริษัท ส่วนที่เหลือจ่ายช่วงสงกรานต์ตาม “การทุ่มเท” การทำงานของหน่วยงาน และ ส่วนบุคคล ซึ่งการจ่ายแบบนี้จะวัดประสิทธิภาพการบริหารจัดการระดับหน่วยงานและตัวบุคคล อาจจะเป็นเครื่องจูงใจให้พนักงานช่วยกันปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและทำงานเป็นทีม รวมทั้งช่วยเรื่องการบริหารกระแสเงินสดหรือ Cash Flow ของบริษัทได้ และจูงใจพนักงานมากกว่ารูปแบบเดิม
ที่เล่ามาข้างต้นนี้...เป็นตัวอย่างของจ่ายโบนัสที่มีรูปแบบและเหตุผลการจ่ายที่คิดว่าเหมาะสม สำหรับ “ผู้จ่าย” และ “ผู้รับ” เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยพฤติกรรมอันพึงประสงค์ และบริษัทบรรลุเป้าหมายรายได้-กำไร-ประสิทธิภาพการทำงานตามที่วาดหวังไว้
\( ̄︶ ̄) ธุรกิจเติบโตได้ ด้วยปฏิสัมพันธ์อันดี พึ่งพากันระหว่าง “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” ถ้าไม่มีลูกจ้าง นายจ้างก็ไม่มีคนช่วยทำงาน ถ้านายจ้างเจ๊ง ลูกจ้างก็เดือดร้อน ต้องหางานใหม่ o(╥﹏╥)o
  • Smart Executive + Smart Employee = Profit
  • Smart Executive + Dumb Employee = Production
  • Dumb Executive + Smart Employee = Promotion
  • Dumb Executive + Dumb Employee = Closed
·(¯`°.°.★* *★ .°.°´¯)*¤°★ ·(¯`°.°.★* *★ .°.°´¯)*¤°★ ·(¯`°.°.★* *★ .°.°´¯)*¤°★
แต่..........................!!!!!
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายโบนัสรูปแบบใด มากน้อยเท่าไหร่ก็ตาม สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่คนเป็น HR “ห้ามลืม” และต้องจดจำไว้อยู่เสมอ ก็คือ “การสื่อสาร” ......การสื่อสารให้พนักงานเข้าใจนี่แหล่ะที่ถือเป็นอาวุธขั้นสุดยอดของเหล่าผู้กล้า คน HR
พี่ตุ้ม (พรทิพา สมประสงค์) 13-03-59

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น