วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

"หัวหน้า" และ "ลูกน้อง"


อาทิตย์ที่ผ่านมา...เราพูดถึงลักษณะของ "คนในที่ทำงาน" ทั้งที่ไม่พึงประสงค์ และ "ยอดมนุษย์พนักงานที่บริษัทฝันหา" ...มีคำถามจากน้อง ๆ ที่มีฐานะเป็น "หัวหน้า" จะบริหารอย่างไรให้ลูกน้องทำงานที่มอบหมาย และ "ลูกน้อง" ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับหัวหน้าที่ดีแต่สั่ง
ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จากงานสำรวจความพึงพอใจหรือจะเรียกว่า การสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน หรือ เปิดกล่องให้ใส่ความคิดเห็น Suggestion Box (แบบโบราณ) หรือ การสำรวจความผูกพันของพนักงาน Employee Engagement (สมัยใหม่) เพื่อดูความผูกพันต่อบริษัท ความไม่พึงใจหรือพึงใจในการทำงานในบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงาน และ การบริหารผลงาน (Performance Management) องค์รวมของบริษัทด้วย ...ซึ่งจะมีหมวดคำถามเรื่องความเห็นความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของ "หัวหน้า" และ ความเห็นต่อพฤติกรรมการทำงานของ "ลูกน้อง" 
ผลการสำรวจ จะสรุปออกมาเป็นเชิงปริมาณ % สรุปคร่าวๆ ลักษณะหัวหน้าที่ลูกน้องไม่ปลื้ม และผลกระทบต่อการทำงานในทีมงานและพนักงานลาออกเมื่อมีโอกาส รวมทั้ง ลักษณะลูกน้องยอดแย่ หรือ ไม่พึงประสงค์ที่นายงานไม่อยากได้ 
{{{(+ ๐ +)}}} จากประสบการณ์การทำงาน ...การสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออก หรือ Exit Interview พนักงานมักจะให้เหตุผลการลาออกแบบมีเหตุผล ได้แก่...ไปเรียนต่อ สุขภาพไม่ดี ดูแลครอบครัว ทำธุรกิจครอบครัว ฯลฯ 
ซึ่งไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง การหาสาเหตุการลาออกเพื่อนำผลมาวา่งแผนแก้ไขปัญหานั้น ควรจะสอบถามพนักงานอีกครั้งทางโทรศัพท์...หลังจากพนักงานลาออกแล้ว 3-4 เดือน (ช่วงเวลาที่พนักงานจะพ้นการทดลองงานกับงานใหม่) ข้อมูลสาเหตุการลาออกประมาณ 80% คือ พนักงานทนนายงานไม่ได้...และจะบรรยายพฤติกรรมและเหตุการณ์ประกอบอีกมากมาย...แต่มักจะสรุปสไตล์ไทยๆ แบบน่ารักว่า แต่ "พี่เขาก็เป็นคนดีนะคะ/ครับ...สรุป น่ารักแบบน้องทนอยู่ด้วยไม่ได้ นั่นเป็นสิ่งที่บริษัทต้องหาทางสร้างภาวะผู้นำให้กับ "หัวหน้างาน" ในการบริหารจัดการ "คน" นอกเหนือจากความเก่งในการทำงาน
ในอีกมุม... หัวหน้างานหลายท่านที่ลาออก สาเหตุเพราะทนพฤติกรรมของลูกน้องไม่ไหว ป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ เกี่ยงงาน ดีแต่พูด ฯลฯ ปากเปียกปากแฉะเตือน...ก็ไปด่าประจาน ใน Social Media ไม่อยากทำโทษ หรือไปจู้จี้จุกจิกด้วย เพราะเสียอารมณ์ เสียเวลาทำงาน..แต่...ผลงานของหน่วยงานต้องมาจากการทำงานของทุกคนในหน่วยงาน ตกหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนั้น คนเป็นหัวหน้างาน ต้องรับ Load งานของพนักงานไม่พึงประสงค์เหล่านี้หรือให้พนักงานอื่นทำแทน ซึ่งไม่ยุติธรรม...สภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน น่าเบื่อและอึมครึม เมื่อบริหารจัดการคนแบบนี้ ไม่ได้..การลาออกหางานใหม่น่าจะสบายใจกว่า {{{(+ ๐ +)}}} 
++++อันที่จริง ถ้าต่างคนต่างรู้ ว่า "อะไร" ที่เป็นสิ่งที่ "ต้องการ" หรือ "ต้องทำ" และ "ทำ" มันก็จะจบปัญหา ++++
o(. “”.)o .ประเด็นสำคัญ น่าจะอยู่ที่ "อะไรเป็นสาเหตุ" ทำให้ทั้งคนที่แสดงบทบาท "หัวหน้า" และ "ลูกน้อง" ไม่ทำสิ่งที่ต้องทำ และลด-ละ-เลิกทำในสิ่งที่อีกฝ่าย "ยี้" ต่างหาก o(. “”.)o

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น