วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วันหยุด วันลา...สิทธิ์ที่น่าคิด



เมื่อต้นเดือนมีนาคม...เรารับ Job จัดทำคู่มือพนักงาน 2 ภาษา และปรับ “ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน” ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ. 2541 (ปรับปรุง พ.ศ. 2551) และแปลเป็น 2 ภาษา ทำให้ต้องกางกฎหมายแรงงาน ซึ่งมักเข้าใจว่า คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันที่จริงกฎหมายแรงงาน จะประกอบด้วย 5 พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ร.บ. กองทุนเงินทดแทน พ.ร.บ. พ.ร.บ. จัดตั้งศาล และ บรรพ 6 แพ่งพาพาณิชย์เรื่องสัญญา เราปรับแก้ไขมาเรื่อยๆ จนถึงหมวด “วันหยุดและหลักเกณฑ์วันหยุด” ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิ์ให้แก่ลูกจ้าง ได้แก่ วันหยุดประจำสัปดาห์ นักขัตฤกษ์(รวมวันแรงงาน) 13 วัน:ปี เป็นต้น
นอกจากนั้น...ยังมีวันหยุดแล้ว ลูกจ้างยังได้สิทธิ์วันลาตามกฎหมาย เช่น ลาป่วย 30 (จ่าย 30 วัน) วัน ลาคลอด 90 วัน (จ่ายเงิน 45 วัน) ลาฝึกทหาร 60 วัน (จ่าย 60 วัน) ลากิจ ลาทำหมัน ลาฝึกอบรม ลากิจธุระจำเป็น นั่งคิดเล่นๆ ปีหนึ่งมี 365 หรือ 366 วัน นายจ้างจ่ายเงินเดือนเหมาเป็นรายเดือน (มาทำงานหรือไม่มาทำงานก็ต้องจ่ายเงินเดือน) ...เคยคิดหรือสงสัยไหมว่า..ใน 1 ปี เราทำงานกี่วัน ??


o(︶︿︶)o มีการคำนวณวันทำงานจากเรื่องเล่าขำโหด ของชาว HR เล่าต่อ ๆ กันมา จนไม่รู้ว่าเริ่มจากใคร เรื่องมีอยู่ว่า...
คุณ A พนักงานบริษัท สงสัยทำไมเขาไม่ได้ขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนขั้นมา 2 ปี แล้ว อดรนทนไม่ไหว ตัดสินใจไปถาม HR ในเช้าวันหนึ่ง ซึ่ง HR ตอบคุณ A ว่า คุณ A ไม่เคยมาทำงานเลย คุณ A โมโหมาก..เขามารูดบัตรเข้าทำงานทุกวัน หลักฐานก็ทนโท่ HR จึง อธิบายคุณ A ด้วยเหตุผลและตรรกะการคำนวณ แต่พา งงเล็ก ๆ เหมือนกัน
HR : คุณตอบผมซิ ปีหนึ่งมีกี่วัน คุณ A: 365 วัน และ 366 วัน ในปีอธิกสุรทิน HR: หนึ่งวันมีกี่ชั่วโมง คุณ A: 24 ชั่วโมง HR : แล้วคุณทำงานวันละกี่ชั่วโมงล่ะ คุณ A: ตามกฎหมายก็ 8 ชั่วโมง เข้างาน 8.00น. พักเที่ยง 1 ชั่วโมง เลิกงาน 17.00น. HR: เอาล่ะ.... คำนวณซิ คุณทำงานเท่าไรในแต่ละวัน คุณ A: วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง ทำงาน 8 ชั่วโมง = 8/24 ชั่วโมง = 1/3 ทำงาน 1 ใน 3 ของวัน HR : ขอบใจมาก ถ้างั้น คุณทำงาน 1 ใน 3 ของ 366 วัน คำนวณซิ คุณทำงานกี่วัน คุณ A: ปีหนึ่งมี 366 วัน ทำงาน 1/3 = 366 หาร 3 = 122 วัน HR : แล้ววันเสาร์-อาทิตย์ คุณมาทำงานด้วยไหม คุณ A: ไม่ได้มาครับ เพราะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ของบริษัท ตามกฎหมายกำหนด HR : แล้วปีหนึ่งมีวันหยุดสุดสัปดาห์กี่วัน คุณ A: มีวันเสาร์ 52 วัน วันอาทิตย์ 52 วัน รวมเป็น 104 วัน HR : เมื่อกี้ คุณบอกว่าปีหนึ่งคุณทำงาน 122 วัน แต่หักวันหยุดประจำสัปดาห์ 104 วัน คุณทำงานกี่วัน คุณ A: เสียงเริ่มอ่อย ๆ เอาวันทำงาน122 - วันหยุดประจำสัปดาห์ 104 เหลือ = 18 วัน HR : โอเคล่ะ คุณมีสิทธิ์ลาป่วยปีละ 30 วัน ประวัติการลาคุณลาป่วยเฉลี่ยปีละ 14 วัน คุณทำงานกี่วัน คุณ A: วันทำงานที่เหลือ 18 วัน - วันลาป่วย 14 เหลือวันทำงาน = 4 วัน HR : แล้ววันมาฆบูชาล่ะ...คุณมาทำงาน คุณ A: ไม่ครับ เป็นวันหยุดของบริษัท HR: วันแรงงานล่ะ คุณมาทำงานไหม? คุณ A: ไม่ครับ เป็นวันหยุดของบริษัท HR : เอาล่ะ...แค่นี้ก่อน ตกลงคุณเหลือวันทำงานกี่วัน คุณ A: วันทำงาน 4 วัน - วันปีใหม่และวันแรงงาน 2 วัน เหลือ 2 วัน HR : วันปิยะ คุณมาทำงานไหม? คุณ A: ไม่ได้มาครับ เป็นวันหยุดของบริษัท HR : ตกลงตอนนี้คุณเหลือวันทำงานกี่วันแล้ว? คุณ A: 1 วัน ครับ HR : แล้ววันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ วันปีใหม่ วันอาสาฬ วันวิสาขู วันเฉลิมฯ หยุดไหม??? คุณ A: ก็เป็นวันหยุดของบริษัทนี่ครับ HR : ตกลงปีนึงคุณทำงานให้บริษัทกี่วันเนี่ย คุณ A: เข้าใจแล้วครับ ผมเพิ่งรู้ว่าทุกวันนี้ เงินเดือนที่ผมได้ เหมือนขโมยบริษัทมาเปล่าๆเลย
(◡‿◡✿) ...แล้วใน 1 ปี เราทำงานกี่วัน??...
จริง ๆ พนักงานก็ยังทำงานค่ะ ไม่ใช่แบบเรื่องเล่าที่นำมาฝากวิธีคิดคร่าว ๆ ในความเป็นจริงคือ 365 - วันหยุดประจำสัปดาห์ (104 วัน) - วันนักขัตฤกษ์ (ขั้นต่ำ 13 วัน) - วันหยุดพักผ่อนประจำปี (ขั้นต่ำ 6 วัน) = 242 วัน ราชการประมาณ 220 วัน:ปี (◕‿◕✿) (◕〝◕)
...ถ้าพนักงานบางท่านใช้สิทธิวันหยุด วันลาตามกฎหมายครบ จะทอนวันทำงานลงไปอีก เช่น ลาป่วยปีละ 30 วัน ลาคลอดุ 90 วัน (กรณีผู้หญิง) ผู้ชายลาระดมพล 60 วัน ลากิจ 3 วัน จะเหลือวันทำงาน ซึ่งยังไม่ได้รวมวันลาพิเศษต่าง ๆ ที่หลายบริษัทจัดให้เป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน... ไม่รู้เหมือนกันว่าใน 1 ปี พนักงานท่านนั้นๆ ทำงานกี่วัน และภารงานของบริษัทที่พนักงานนั้น ๆ รับผิดชอบอยู่เป็นอย่างไร เป็นไปตามผลงานไหม ...หลายบริษัทนำ “การลา การหยุดงาน” มาเป็นปัจจัยตัวหนึ่งในการประเมินผลการปฏิบัติงานในการขึ้นเงินเดือน/จ่ายโบนัส เพื่อต้องการให้พนักงานไม่ขาดงาน มาทำงาน....แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ “ผลงาน” (outcome) ตามเป้าหมาย {{{(>_<)}}} ☀
:*´¨`*:. *.:。✿* ดังนั้น...กรบริหารจัดการวันหยุด วันลา ด้วยการพิจารณาผ่อนปรนเวลาการทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น อนุญาตให้มาสาย กลับเร็วเป็นช่วงเวลาที่ตกลงกัน สำหรับพนักงานหญิงที่มีลูกเล็ก หรือพนักงานที่ศึกษาต่อ... แต่ให้ทดเวลาทำงานช่วงอื่นทดแทนในบางตำแหน่งงาน เป็นต้น อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้พนักงานที่มีจิตมุ่งมั่นทำงาน...แต่ติดภารกิจที่จำเป็นของครอบครัว ต้องใช้สิทธิ์หรือข้ออ้างการหยุดการลาตามกฎหมายและระเบียบบริษัท ทำให้เสียเวลางานและ (อาจจะ) ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกที่ดีในการทำงานก็เป็นไปได้ :*´¨`*:. *.:。✿*
“นายจ้างอยู่ได้ ลูกจ้างอยู่ดี ทุกชีวีในองค์การก็..มีความสุขจ้า“
׺°"˜`"°º× ׺°"˜`"°º× »-(¯`v´¯)-» ×÷·.·´¯`·)» «(·´¯`·.·÷× »-(¯`v´¯)-»
พี่ตุ้ม (พรทิพา สมประสงค์ 24-03-2559)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น