วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน

+++ คราวที่แล้ว...ได้ทิ้งท้ายคำถามไว้ว่า ถ้าบริษัท A, B และ C รับน้องทำงานใน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดซื้อ (Purchasing Officer) ซึ่งมีการจ่ายค่าตอบแทนแตกต่างกัน...แต่ package รวมเท่ากัน คือ 16,000 บาท (ตามตารางรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน) คิดว่า...จะตอบรับทำงานกับบริษัทใดดี

(︶ ̄) คำตอบไม่มีถูกหรือผิดค่ะ... ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความเหมาะสมกับสภาพการดำรงชีวิตของแต่ละคน...ซึ่งพี่จะอธิบายรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน เงื่อนไขการจ่ายของแต่ละรายการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบกับการตัดสินใจที่จะเลือกบริษัทที่จะทำงาน และมุมมองการบริหารจัดการของบริษัท หรือ นายจ้าง A, B และ C ซึ่งนำองค์ประกอบ “ค่าตอบแทน” ได้แก่ 1) ค่าจ้างเงินเดือน 2) ค่าจูงใจ หรือ Wage Incentive ซึ่งเป็นค่าตอบแทนเพื่อจูงใจให้คนทำงาน “อยู่ทน” - “ทำผลงานให้ดีขึ้น” และ 3)  ประโยชน์เกื้อกูล หรือ Fringe Benefit เพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานดีขึ้น) มา “บริหารจัดการ” คือ วางแผน จัดการระบบ และ ควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมก่อให้เกิดแรงจูงใจให้กับพนักงาน เพื่อแลกกับผลงานที่พนักงานได้ทำให้กับบริษัท(องค์การ)  ดังนั้น บริษัท A, B และ C จึงกำหนดรายการและบริหารค่าตอบแทนแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และนโยบายในการดำเนินกิจการ เช่น ประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการ คู่แข่งทางธุรกิจ คุณลักษณะของพนักงานที่ต้องการ สภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น

(. “”.)o จากตารางรูปแบบการจ่ายเงิน นำมาจัดตามประเภทค่าตอบแทน อธิบายเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนแต่ละรายการ รวมทั้ง สรุปเป็นรายได้ที่พนักงานจะได้รับ เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาค่าตอบแทนในการทำงาน และ รายจ่ายที่บริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนเพื่อแชร์ความคิดในการ "บริหารค่าตอบแทน"  ดังนี้

บริษัท A มีรายการค่าตอบแทน 2 รายการ โดยจ่ายเป็นค่าจ้าง และ ค่าประโยชน์เกื้อกูล คือ เงินเดือน 15,000 บาท (แพงกว่าบริษัท B และ C) และจ่ายค่าพาหนะ 1000 บาท ในงวดเงินเดือน ...ดังนั้น พนักงาน A จะมีรายได้เดือนละ 15,250 บาท โดยบริษัทจ่ายเดือนละ 16,750 บาท
บริษัท B มีรายการค่าตอบแทน 3 รายการ โดยจ่ายเป็นค่าจ้าง และ ประโยชน์เกื้อกูล 2 รายการ คือ เงินเดือน 14,000 บาท (น้อยกว่า A แต่มากกว่า C) ค่าครองชีพ หรือ COLA 1000 บาท และ เงินประจำตำแหน่ง 1000 บาท ในงวดเงินเดือน
...ดังนั้น พนักงาน B จะมีรายได้เดือนละ 15,250 บาท โดยบริษัทจ่ายเดือนละ 16,750 บาท



︿ ข้อสังเกต ︿ 
พนักงานบริษัท A และ B มีรายได้เดือนละ15,250 บาท เท่ากัน...บริษัท A และ B มีรายจ่ายค่าตอบแทนเดือนละ 16,750 บาท เท่ากัน

บริษัท C มีรายการค่าตอบแทน 7 รายการ โดยจ่ายเป็น ค่าจ้าง คือ เงินเดือน 11,000 บาท (น้อยกว่าบริษัท A และ B) ค่าจูงใจ 2 รายการ คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ซึ่งบริษัทหักเงินเดือนของพนักงาน และ บริษัทจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้พนักงานทุกๆ เดือน) มีโบนัสเดือนกว่า (13,800 บาท) เงินปันผลกำไร 1,100 บาท จ่ายสิ้นปีเมื่อบริษัทรับรู้ผลกำไรหรือผลประกอบการ และ ค่าประโยชน์เกื้อกูล 3 รายการ คือ เงินประจำตำแหน่ง 1,100 บาท เงินช่วยค่าพาหนะ 550 บาท และ ค่าครองชีพ 550 บาท...ดังนั้น  พนักงานบริษัท C จะมีรายได้เดือนละ 11,990 บาท และมีรายได้สิ้นปี 14,900 บาท รวมทั้งเงินปันผลจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

︿ ข้อสังเกต︿ :
นักงานบริษัท C จะได้รับเงินรายเดือนน้อยกว่าบริษัท A และ Bแต่บริษัท C เป็นบริษัทเดียวที่มีการกำหนดเงินจูงใจ โดยจ่ายครั้งเดียวสิ้นปี คือโบนัสและเงินปันผลกำไร เงินปันผลจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสิ้นปี 

Q: ทำไมบริษัทกำหนดรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนแตกต่างกัน..ทั้งๆ  พนักงานของบริษัท A และ B ได้รับรายได้ประจำเดือนเท่ากัน และบริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนประจำเดือนเท่ากัน ทำไมบริษัท C จ่ายเงินเดือนน้อย และกำหนดรายการค่าตอบแทนอื่นๆ มากมาย
...ลองคิด และเราจะมาแชร์ความคิดเห็นคำถามนี้ในครั้งต่อไป "การบริหารค่าตอบแทน" 

`°.•°•.* * .•°•.°´¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯

ครูพี่ตุ้ม (23-8-59)
#HROD #Consultant



2 ความคิดเห็น:

  1. Depend on many factors, same as the employer. Each company have their own mandatory on the work procedure. And also their own way of dealing with the employer as well.

    Ps. Nice writing there, Instructor. :)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณค่ะ เข้าใจถูก การบริหารค่าตอบแทนและระบบที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็น "ต้นทุน" และ
      ไม่ใช่แค่การบริหารการจ่ายเงินให้คุ้มค่า แต่ต้องคำนึงถึงความจูงใจและความพึงพอใจ(ที่เหมาะสมและด้วยเหตุผลในทางปฏิบัติ) ของพนักงานด้วย ไว้แชร์ความเห็นกันอีกใน blog หน้านะคะ

      ลบ