วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจ่ายค่าจ้าง...และ โครงสร้างเงินเดือน (Salary Structure)

...คนส่วนมากมักเข้าใจว่า "โครงสร้างเงินเดือน" หมายถึง "การจ่ายเงินเดือนหรือจ่ายค่าจ้าง" ให้กับพนักงานหรือลูกจ้างในตำแหน่งต่างๆ ตามความเหมาะสมของเจ้าของกิจการ หรือ ผู้บริหารที่มีอำนาจ...การจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างนั้น ไม่ใช่โครงสร้างเงินเดือน 

+++ หลายบริษัทจ่ายเงินเดือน-ค่าจ้างให้กับพนักงานโดยไม่ต้องมีโครงสร้างเงินเดือนมาก่อน ก็สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ ...แล้วทำไมต้องมีโครงสร้างเงินเดือน???? ซึ่งเป็นเรื่องจริง...แต่ลองพิจารณาในทางปฏิบัติ บริษัทจะขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานนั้น ทุกๆ ปี พนักงานจะมีเงินเดือนสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ  ---แม้ว่า ทำงานแบบเดิมๆ มากี่ปีแล้วก็ตาม--- 

ตัวอย่าง...จากประสบการณ์ทำงานกับบริษัทผลิตเครื่องดื่ม พบว่าเงินเดือนของพนักงานขับรถของ MD เงินเดือนๆ ละ 35,000 บาท (OT อีกเดือนละประมาณ 20,000 บาท โดยคิดจากฐานเงินเดือน)...ซึ่ง สูงกว่าเงินเดือนของ Engineer อายุงาน 2 ปี ได้รับเงินเดือน 18,000 บาท...สอบถามได้ความว่า ลุงพนักงานขับรถเป็น พนักงานคนแรก เป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ MD ไว้ใจมาก ทำงานมานานเกือบ 20 ปี แล้ว MD ไว้ใจมาก และขึ้นเงินเดือนทุกปีๆ ละ 10-20% จากฐานเงินเดือน..แต่ ลุงพนักงานขับรถ ทำงานเดิมๆ คือ เช้าไปบ้าน MD รับมาที่บริษัท คอย MD พากลับที่พัก หรือมีธุระข้างนอก ก็พาไปและคอยรับกลับ

...โครงสร้างเงินเดือน (Salary Structure) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารการจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ไม่ให้จ่ายเกินไปกว่าระดับงาน ถ้าพนักงานทำงานแบบเดิม..ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงาน +++ แต่ถ้าพนักงานมีความสามารถ ก็จะได้รับการเลื่อนระดับงานและรับเงินเดือนตามระบบโครงสร้างเงินเดือน +++ 
โครงสร้างเงินเดือนมี 4 รูปแบบ คือ 
1.แบบจ่ายตามชิ้นงาน หรือ Piece Rate Structure 
2.แบบค่าจ้างตายตัว หรือ Fixed Rate Structure ตัวอย่างเช่น การจ่ายตามมาตรฐานฝีมือ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กำหนดอัตราค่าจ้างตามระดับฝีมือ เช่น ช่างเชื่อมแม็กมี 3 อัตราตามระดับฝีมือ  (ที่มา http://www.dsd.go.th/standard/Region/showhilight/2457)

3. แบบขั้นเงินเดือน หรือ Step Rate Structure กำหนดราคาของขั้น แบบราชการ (เดิม)ในระบบ "ซี" หรือ PC (Position Classification) โดยกำหนดเป็นระดับตำแหน่งมาตรฐานกลาง (Common Level) 11 ระดับ หรือ "ซี"เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบค่างานในแต่ละส่วนราชการให้เป็นไปตามมาตรฐานกลาง และใช้เงินเดือนเดียวกับทุกประเภทตำแหน่ง...(ปัจจุบันปรับปรุงให้เงินเดือนพื้นฐานสอดคล้องกับ "ค่างาน" จัดเป็น broadband 4 กลุ่ม (band) อิสระจากกัน แต่ละกลุ่มมี 2-5 ระดับ คือ กลุ่มทั่วไป (O) กลุ่มวิชาการ (P) กลุ่มอำนวยการ (M) และ กลุ่มบริหาร (S) ...และจ่ายเงินเดือน-ค่าจ้าง แบบ "แท่ง" หรือ แบบที่ 4 ช่วงเงินเดือน


4.แบบช่วงเงินเดือน หรือ Range Rate Structure หรือ กระบอกเงินเดือน โดยกำหนดช่วงการจ่าย ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่ากลาง (Mid Point) และ ค่าสูงสุด (Maximum) ของแต่ละกระบอก เป็นรูปแบบที่หลายบริษัทนิยมใช้ในปัจจุบัน 






 ()บริษัทจำเป็นต้องมีโครงสร้างเงินเดือนหรือไม่นั้น?? ...พี่คิดว่า... แล้วแต่ดุลยพินิจตามความเหมาะสมของธุรกิจ-บริษัท เพราะหลายบริษัทไม่มีโครงสร้างเงินเดือน...แต่ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารเงินเดือนของพนักงานได้อย่างเป็นธรรม ไม่สร้างความรู้สึกอยุติธรรมกับพนักงาน..บริษัทเหล่านี้พี่ถือว่ามีโครงสร้างเงินเดือนในการบริหาร..แต่เป็นโครงสร้างไม่เป็นทางการ
(◡‿◡✿) ..เคยทำงานกับหลายบริษัทที่มีโครงสร้างเงินเดือนอย่างเป็นระบบ...แต่มีปัญหาในการบริหารโครงสร้างเงินเดือนซะงั้น!!! 
·(¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯)*¤°• •:*´¨`*:·(¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯)*¤°• •:*´¨`*:
ครูพี่ตุ้ม (13-08-59)
#HROD #Consultant



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น