วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

วิธีการสร้างและจัดการโครงสร้างเงินเดือน ภาคปฏิบัติ (Salary Structure Design and Salary Slotting)


 (◡‿◡✿) ก่อนจะเข้าเรื่อง “การบริหารค่าตอบแทน” ขอวกเข้ามาเรื่อง “การกำหนดค่าตอบแทน” ซึ่งเคยพูดถึงใน blog เรื่อง เงินเดือน...ค่าตอบแทน องค์ประกอบค่าตอบแทนมี 3 ตัว คือ 1) ค่าจ้างเงินเดือน (Wage-Salary) เป็นค่าตอบแทนที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่คนทำงาน 2) ค่าจูงใจ (Wage Incentive) เป็นค่าตอบแทนที่จัดเป็นพิเศษจูงใจให้คนทำงาน อยู่ทนและ ทำผลงานดีขึ้นเช่น การให้รางวัลพิเศษในการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่ง และ 3) ประโยชน์เกื้อกูล (Fringe Benefit) เป็นค่าตอบแทนที่จัดเพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานดีขึ้น หรือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงานกับองค์การ
()...องค์ประกอบค่าตอบแทนทั้ง 3 ตัว  “ค่าจ้างเงินเดือน (Wage-Salary) เป็นค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Pay) ที่นายจ้างต้องจ่ายประจำเดือนให้แก่คนทำงานไม่ว่าจะสร้างผลงานหรือไม่สร้างผลงานก็ตาม และค่าจ้างเงินเดือน ไม่สามารถ “ลด” ลงได้ (ตามกฎหมายแรงงาน) แต่จะมีการปรับขึ้นทุกๆ ปี ไม่ว่าปรับเพิ่มจากฐานเงินเดือน หรือ ค่ากลาง (Mid Point) ของกระบอกเงินเดือน ก็ตาม ดังนั้น การจัดการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาเป็นพื้นฐานในการจ่ายค่าตอบแทน

ประจวบเหมาะกับทาง BLCI โทรมาแจ้งว่าจะไม่จัดทำการสำรวจค่าตอบแทนในปีนี้ 2559/2560 เสนอให้พี่จัดหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดทำโครงสร้างเงินเดือน และทาง BLCI จะแจกรายงานผลการสำรวจค่าจ้าง เงินเดือน และ สวัสดิการ ปี 2558 และแนวโน้ม ปี 2559 ให้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรมฟรี 
 
(◕‿◕✿) พี่จึงร่างหลักสูตร การอ่านวิเคราะห์รายงานสำรวจค่าตอบแทน (เงินเดือน และ สวัสดิการ) ข้อมูลการจ่ายเงินเดือน (Base Salary) และ การจ่ายค่าตอบแทนรวม (Total Pay) และข้อมูลสวัสดิการอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในการจัดโครงสร้างเงินเดือน และ บริหารจัดการการจ่ายปัจจุบันเทียบกับโครงสร้างเงินเดือน หรือ ที่เรียกว่า Salary Slotting 

การสอนครั้งนี้ เราจะใช้เล่มรายงานการสำรวจค่าจ้าง และ สวัสดิการ ปี 2558/2559 ที่ทาง BLCI แจกให้ประกอบการสอนค่ะ
 หากน้องๆ หรือผู้อ่านสนใจ จะเข้าร่วมสัมมนาที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน 2559 ที่โรงแรม Grand Mercure Bangkok Fortune พระราม 9
  ติดต่อจองที่นั่งที่ BLCI  029373770 e-mail blci@blcigroup.com, Website: www.blcigroup.com นะคะ
ขอจำกัดจำนวนที่ 30 คน เพราะเราจะทำ workshop ปฏิบัติ และจะได้คุยกัน สอบถามข้อสงสัยได้ทั่วถึงค่● 


...แถมท้ายนิดนะคะ น้องๆ บางท่านอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อ BLCI ชื่อจริง คือ ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ของ ดร. จำเนียร จวงตระกูล ผู้เชี่ยวชาญการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นค่ายไทยที่จัดทำการสำรวจค่าตอบแทนเก่าแก่ค่ายหนึ่ง พี่เองเข้าร่วมสำรวจกับ BLCI กว่า 15 ปี ต่อเนื่องนอกเหนือจากใช้บริการค่ายไทยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น PMAT, BMC, และค่ายฝรั่ง เช่น HAY, MERC, MERCER, HEWITT, TOWERS WATSON และ หอการค้าต่างๆ ในประเทศไทย... ข้อมูลรายงานของ BLCI จะมีสรุปภาพ MACRO วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจของไทย สถานการณ์แรงงาน การว่างงาน และข้อมูลของบริษัทที่เข้าร่วมสำรวจในการจ่ายโบนัส การปรับค่าจ้างประจำปี เปรียบเทียบข้อมูลการปรับย้อนหลัง 5 ปี และแนวโน้มในปีถัดไป รวมทั้งภาพรวมการจ่ายสวัสดิการ ของ 7 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วไป 2) กลุ่มอุตสาหกรรมการค้า 3) กลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โลหะ 4) กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์  5) กลุ่มอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 6) กลุ่มธุรกิจบริการ และ 7) กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์  สรุปข้อมูลของแต่ละตำแหน่งงาน ดูง่าย สรุปหน้าที่ภาระงานของตำแหน่งงาน (เพื่อ benchmark หรือเปรียบเทียบกับหน้าที่งานของบริษัท) และ จัดแบ่งข้อมูลค่าตอบแทน 2 ส่วน คือ ข้อมูลค่าจ้างซึ่งเป็นข้อมูลดิบของบริษัทผู้เข้าร่วมสำรวจ และ ข้อมูล Percentile หรือข้อมูลการเปรียบเทียบจัดลำดับ P25, P50, P60 และ P75 รวมทั้งสรุปนิยาม และ สูตรทางสถิติที่ใช้ในการประมวล วิเคราะห์ข้อมูลการจ่ายค่าตอบแทน
o(︶︿︶)oน่าเสียดายจริง ๆ ที่ BLCI จะยุติการสำรวจค่าตอบแทน o(︶︿︶)o

ครูพี่ตุ้ม (7-09-59)
#HROD #Consultant






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น