วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ให้ออก...ลาออก...ไม่อยากออกแล้ว????




การสรรหาคนที่คิดว่า ”ใช่” มาทำงาน ก็ว่ายากแล้ว พอได้คนมาทำงานก็ยากยิ่งกว่าที่จะบริหารให้ทำงานตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะสาเหตุเพราะ “ตัวของพนักงานเอง” หรือ “ระบบงานและสิ่งแวดล้อมการทำงาน” ที่ทำให้พนักงาน “ทนอยู่” หรือ “อยู่ทน” และ/หรือจบด้วยการ “บริษัทให้ออก” หรือ “พนักงานลาออกเอง”

“บริษัทให้ออก” หรือ “พนักงานลาออกเอง”  กฎหมายแรงงานไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้ชัดเจนว่าต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือต้องมี Format หนังสือลาออกอย่างไร... ⌐■- แต่ กฎหมายจะดูที่ “เจตนา” เป็นหลัก ⌐■-
ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 ….ในกรณีสัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน และกำหนดเงื่อนไข/วงเงินการจ่ายเงินชดเชย กรณี “บริษัทให้ออก” หรือ “เลิกจ้าง ตามมาตรา 118 และ มาตรา 119 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ซึ่งก็ชัดเจนเพียงพอที่จะยุติความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ทั้ง “ให้ออก” หรือ “ลาออก” แต่ในทางปฏิบัติซึ่งเคยพบเห็นในการทำงานที่ผ่านมา มี “ปัญหา” และ เป็นประเด็นทางคดีความได้ด้วยเช่นกัน

uพนักงานแจ้งลาออก...แต่บริษัทไม่อนุมัติการลาออก??
สำหรับ “ลูกน้องในฝัน” หัวหน้าเสียดายไม่อยากให้พนักงานลาออก มักจะประวิงเวลาไม่อนุมัติการลาออก ทำได้ไหม??? เมื่อถึงกำหนดพนักงานไม่มาทำงานแล้วเพราะถือว่าสัญญาสิ้นสุดตามเจตนาการลาออกแล้ว การที่บริษัทไม่อนุมัติให้ลาออกไม่มีผลแต่อย่างใด และบริษัทจะถือว่าพนักงานละทิ้งหน้าที่ไม่ได้

แต่ถ้าถึงกำหนดที่พนักงานแจ้งว่าจะลาออก หัวหน้ายังไม่ได้อนุมัติการลาออก พนักงานก็มาทำงานตามปกติ บริษัทก็จ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างตามปกติ...เท่ากับสัญญาจ้างยังไม่สิ้นสุด และ เป็นการยกเลิก “การลาออก” โดยปริยาย
...แต่ต่อมา หัวหน้าเปลี่ยนใจ จะอนุมัติการลาออกใหม่ กรณีนี้ถือว่า บริษัทเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา หรือ “เลิกจ้าง”ถ้าเลิกจ้างพนักงานโดยไม่มีความผิด ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานตาม มาตรา 118 เพราะการบอกเลิกสัญญาของพนักงานได้ถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้แล้ว

vพนักงานแจ้งลาออก...แต่บริษัทอนุมัติผลก่อนเวลาที่พนักงานแจ้ง??
 “การลาออก” เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของลูกจ้างเพื่อให้นายจ้างรับทราบการแสดงเจตนาในการลาออกของลูกจ้างตามข้อกำหนดหรือระเบียบของบริษัทเท่านั้น ...นายจ้างจะอนุมัติและให้มีผลทันทีก่อนวันที่ลูกจ้างกำหนดไม่ได้...เพราะทำให้ลูกจ้างเสียหาย ไม่ได้รับค่าจ้าง นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างโดยจ่ายค่าจ้างนับจากวันที่ให้ลูกจ้างออกจนถึงวันที่ลูกจ้างกำหนดให้มีผลลาออก

wพนักงานแจ้งลาออก...แต่เปลี่ยนใจไม่ลาออก??
 หลักคือ ดูที่ “เจตนา” พนักงานแสดงเจตนาว่าจะลาออก จะมีผลตั้งแต่วันที่บริษัท/นายจ้างรับทราบการลาออกแล้ว เมื่อพนักงานเปลี่ยนใจไม่ลาออกภายหลัง ไม่สามารถล้างหรือถอนได้ แม้ว่าจะขอถอนการลาออกก่อนจะถึงกำหนดไว้ก็ตาม หากนายจ้างรับทราบและให้การลาออกนั้นมีผล สัญญาจ้างก็สิ้นสุดเมื่อถึงกำหนดทันที... เว้นแต่บริษัทไม่ถือผลการลาออกนั้น
เพิ่มอีกนิด
 ข้อv ป็นประสบการณ์ของตัวเอง ชนะคดี ข้อ wบริษัทที่เคยทำงานด้วย ชนะคดีพนักงานฟ้อง
(︶ ̄) ไม่อยากให้เกิดประเด็นทั้ง "พนักงาน" และ "บริษัท" ทุกปัญหาเปิดใจคุยกันเพื่อปรับแก้ไขการทำงานร่วมกัน...แต่ถ้า ปรับไม่ได้ก็ "จากกันด้วยดี" ด้วยใจสะอาดเป็นธรรม ไม่หวังประโยชน์จากอีกฝ่ายหรือกลั่นแกล้งแบบอธรรม พึงระลึก ทุกคนเป็น "พนักงาน" เหมือนกันหมด ต่างเพียงหัวโขนบ่งบอกยศฐาบรรดาศักดิ์ เท่านั้นเอง (︶ ̄
·.¸¸·´¯`·.¸¸.ஐ ...¤¸¸.·´¯`·.¸·...·.¸¸·´¯`·.¸¸.ஐ ...¤¸¸.
ครูพี่ตุ้ม 10-12-59
#HROD #Consultant

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น