วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน

+++ คราวที่แล้ว...ได้ทิ้งท้ายคำถามไว้ว่า ถ้าบริษัท A, B และ C รับน้องทำงานใน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดซื้อ (Purchasing Officer) ซึ่งมีการจ่ายค่าตอบแทนแตกต่างกัน...แต่ package รวมเท่ากัน คือ 16,000 บาท (ตามตารางรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน) คิดว่า...จะตอบรับทำงานกับบริษัทใดดี

(︶ ̄) คำตอบไม่มีถูกหรือผิดค่ะ... ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความเหมาะสมกับสภาพการดำรงชีวิตของแต่ละคน...ซึ่งพี่จะอธิบายรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน เงื่อนไขการจ่ายของแต่ละรายการเพื่อเป็นข้อมูลประกอบกับการตัดสินใจที่จะเลือกบริษัทที่จะทำงาน และมุมมองการบริหารจัดการของบริษัท หรือ นายจ้าง A, B และ C ซึ่งนำองค์ประกอบ “ค่าตอบแทน” ได้แก่ 1) ค่าจ้างเงินเดือน 2) ค่าจูงใจ หรือ Wage Incentive ซึ่งเป็นค่าตอบแทนเพื่อจูงใจให้คนทำงาน “อยู่ทน” - “ทำผลงานให้ดีขึ้น” และ 3)  ประโยชน์เกื้อกูล หรือ Fringe Benefit เพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานดีขึ้น) มา “บริหารจัดการ” คือ วางแผน จัดการระบบ และ ควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมก่อให้เกิดแรงจูงใจให้กับพนักงาน เพื่อแลกกับผลงานที่พนักงานได้ทำให้กับบริษัท(องค์การ)  ดังนั้น บริษัท A, B และ C จึงกำหนดรายการและบริหารค่าตอบแทนแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และนโยบายในการดำเนินกิจการ เช่น ประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการ คู่แข่งทางธุรกิจ คุณลักษณะของพนักงานที่ต้องการ สภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น

(. “”.)o จากตารางรูปแบบการจ่ายเงิน นำมาจัดตามประเภทค่าตอบแทน อธิบายเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนแต่ละรายการ รวมทั้ง สรุปเป็นรายได้ที่พนักงานจะได้รับ เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาค่าตอบแทนในการทำงาน และ รายจ่ายที่บริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนรายเดือนเพื่อแชร์ความคิดในการ "บริหารค่าตอบแทน"  ดังนี้

บริษัท A มีรายการค่าตอบแทน 2 รายการ โดยจ่ายเป็นค่าจ้าง และ ค่าประโยชน์เกื้อกูล คือ เงินเดือน 15,000 บาท (แพงกว่าบริษัท B และ C) และจ่ายค่าพาหนะ 1000 บาท ในงวดเงินเดือน ...ดังนั้น พนักงาน A จะมีรายได้เดือนละ 15,250 บาท โดยบริษัทจ่ายเดือนละ 16,750 บาท
บริษัท B มีรายการค่าตอบแทน 3 รายการ โดยจ่ายเป็นค่าจ้าง และ ประโยชน์เกื้อกูล 2 รายการ คือ เงินเดือน 14,000 บาท (น้อยกว่า A แต่มากกว่า C) ค่าครองชีพ หรือ COLA 1000 บาท และ เงินประจำตำแหน่ง 1000 บาท ในงวดเงินเดือน
...ดังนั้น พนักงาน B จะมีรายได้เดือนละ 15,250 บาท โดยบริษัทจ่ายเดือนละ 16,750 บาท



︿ ข้อสังเกต ︿ 
พนักงานบริษัท A และ B มีรายได้เดือนละ15,250 บาท เท่ากัน...บริษัท A และ B มีรายจ่ายค่าตอบแทนเดือนละ 16,750 บาท เท่ากัน

บริษัท C มีรายการค่าตอบแทน 7 รายการ โดยจ่ายเป็น ค่าจ้าง คือ เงินเดือน 11,000 บาท (น้อยกว่าบริษัท A และ B) ค่าจูงใจ 2 รายการ คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ซึ่งบริษัทหักเงินเดือนของพนักงาน และ บริษัทจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนให้พนักงานทุกๆ เดือน) มีโบนัสเดือนกว่า (13,800 บาท) เงินปันผลกำไร 1,100 บาท จ่ายสิ้นปีเมื่อบริษัทรับรู้ผลกำไรหรือผลประกอบการ และ ค่าประโยชน์เกื้อกูล 3 รายการ คือ เงินประจำตำแหน่ง 1,100 บาท เงินช่วยค่าพาหนะ 550 บาท และ ค่าครองชีพ 550 บาท...ดังนั้น  พนักงานบริษัท C จะมีรายได้เดือนละ 11,990 บาท และมีรายได้สิ้นปี 14,900 บาท รวมทั้งเงินปันผลจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

︿ ข้อสังเกต︿ :
นักงานบริษัท C จะได้รับเงินรายเดือนน้อยกว่าบริษัท A และ Bแต่บริษัท C เป็นบริษัทเดียวที่มีการกำหนดเงินจูงใจ โดยจ่ายครั้งเดียวสิ้นปี คือโบนัสและเงินปันผลกำไร เงินปันผลจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสิ้นปี 

Q: ทำไมบริษัทกำหนดรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนแตกต่างกัน..ทั้งๆ  พนักงานของบริษัท A และ B ได้รับรายได้ประจำเดือนเท่ากัน และบริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนประจำเดือนเท่ากัน ทำไมบริษัท C จ่ายเงินเดือนน้อย และกำหนดรายการค่าตอบแทนอื่นๆ มากมาย
...ลองคิด และเราจะมาแชร์ความคิดเห็นคำถามนี้ในครั้งต่อไป "การบริหารค่าตอบแทน" 

`°.•°•.* * .•°•.°´¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯

ครูพี่ตุ้ม (23-8-59)
#HROD #Consultant



วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ค่าจ้างเงินเดือน...ค่าตอบแทน



 “ลูกจ้างทำงานแลกกับค่าตอบแทน” ...”นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนแลกกับผลงาน ...ถ้าความต้องการของลูกจ้างและนายจ้างลงตัวกัน จะเกิดความผลตาม clip Matching Employee and Employer needs ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=7n0faWszauA

...แล้วจะกำหนดค่าจ้างเงินเดือน ค่าตอบแทนอย่างไร??? จึงจะเป็นธรรมและเหมาะสมต่อ “ผลของงาน” ที่นายจ้างคาดหวัง และ “คนทำงาน” รู้สึกเป็นธรรม...เราสามารถพิจารณาปัจจัยในการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ให้กับคนทำงาน ดังนี้

 1. Position Based Pay การจ่ายให้กับ "งาน" ที่ทำ คือ พิจารณาเกี่ยวกับเนื้องาน ลักษณะงาน ปริมาณงาน คุณค่าของงาน ความสำคัญของตำแหน่งงานต่อองค์การ ความยากง่ายในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเสี่ยงของงาน ฯลฯ หรือ “ค่างาน” (ที่เป็นผลจากการประเมิน Job Evaluation) ว่าตำแหน่งงานระดับนี้มีมูลค่าประมาณเท่าไรในตลาดการจ้างงาน เป็นหลัก โดยยังไม่ต้องพิจาณา “คน” หรือ ผู้ครองตำแหน่งงานว่าเป็นใคร

2. Person Based Pay การจ่ายให้กับ "คน" คือ พิจารณาที่ ความเก่งและความเก๋า มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์การทำงานมีผลคุณค่าต่อการทำงานให้กับองค์การอย่างไร

นอกจาก ค่าจ้างเงินเดือน (Wage and Salary) แล้ว หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการจ่ายอื่นๆ ให้กับคนทำงานหรือลูกจ้างทั้งในรูป "ตัวเงิน" และ "มิใช่ตัวเงิน" เพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และ จูงใจให้คนทำงานมีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน รวมทั้งเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวคนทำงานให้ดีขึ้น หรือที่เรียกว่า "ค่าตอบแทน (Compensation) ที่มา: สำนักงาน ก.พ. –สตค.- สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน

 (‵▽′) ค่าตอบแทน (‵▽′) ประกอบด้วย

1. ค่าจ้างเงินเดือน (Wage and Salary) เป็นค่าตอบแทนคงที่ Fixed Pay ที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน-พนักงานไม่ว่าจะทำงานหรือไม่ทำงานก็ตาม

2. ค่าจูงใจ (Wage Incentive) เป็นค่าตอบแทนผันแปร หรือ Variable Pay ที่องค์การจัดให้เป็นพิเศษเพื่อจูงใจให้คนทำงาน “อยู่ทน” และ “ทำผลงานดีขึ้น”  เช่น การให้รางวัลพิเศษในการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่ง เงินโบนัส

3. ประโยชน์เกื้อกูล (Fringe Benefit) เป็นค่าตอบแทน Variable Pay ที่จัดให้เพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานดีขึ้น หรือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกมั่นคงในการปฏิบัติงานกับองค์การ

 \(︶ ̄)> ...ลองดูตารางข้างล่าง รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน ของบริษัท A บริษัท B และ บริษัท C ซึ่งมีค่าตอบแทนรวมการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่ง "เจ้าหน้าที่จัดซื้อ (Purchasing Officer) เท่ากัน คือ 16,000 บาท ---แต่รายการการจ่ายค่าตอบแทน ได้แก่ เงินเดือน โบนัส กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เงินประจำตำแหน่ง ค่าพาหนะ ค่าครองชีพ เงินแบ่งผลกำไร <(︶ ̄)/

Q: ถ้าท่านเป็นผู้สมัครงาน และบริษัททั้ง 3 ตกลงรับท่านทำงาน "ท่านจะเลือกบริษัทใด" ฝากลองคิดและหาเหตุผลกันเล่นๆ ในครั้งต่อไป พี่จะมาอธิบายรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนของทั้ง 3 บริษัทนะคะ
.
.·.¸¸·´¯`·.¸¸.ஐ ...¤¸¸.·´¯`·.¸·.>>--».·.¸¸·´¯`·.¸¸.ஐ ...¤¸¸.·´¯`·.¸·.>>--»

ครูพี่ตุ้ม (15-8-2559)

#HROD #Consultant

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจ่ายค่าจ้าง...และ โครงสร้างเงินเดือน (Salary Structure)

...คนส่วนมากมักเข้าใจว่า "โครงสร้างเงินเดือน" หมายถึง "การจ่ายเงินเดือนหรือจ่ายค่าจ้าง" ให้กับพนักงานหรือลูกจ้างในตำแหน่งต่างๆ ตามความเหมาะสมของเจ้าของกิจการ หรือ ผู้บริหารที่มีอำนาจ...การจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างนั้น ไม่ใช่โครงสร้างเงินเดือน 

+++ หลายบริษัทจ่ายเงินเดือน-ค่าจ้างให้กับพนักงานโดยไม่ต้องมีโครงสร้างเงินเดือนมาก่อน ก็สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ ...แล้วทำไมต้องมีโครงสร้างเงินเดือน???? ซึ่งเป็นเรื่องจริง...แต่ลองพิจารณาในทางปฏิบัติ บริษัทจะขึ้นเงินเดือนให้กับพนักงานนั้น ทุกๆ ปี พนักงานจะมีเงินเดือนสูงขึ้นๆ เรื่อยๆ  ---แม้ว่า ทำงานแบบเดิมๆ มากี่ปีแล้วก็ตาม--- 

ตัวอย่าง...จากประสบการณ์ทำงานกับบริษัทผลิตเครื่องดื่ม พบว่าเงินเดือนของพนักงานขับรถของ MD เงินเดือนๆ ละ 35,000 บาท (OT อีกเดือนละประมาณ 20,000 บาท โดยคิดจากฐานเงินเดือน)...ซึ่ง สูงกว่าเงินเดือนของ Engineer อายุงาน 2 ปี ได้รับเงินเดือน 18,000 บาท...สอบถามได้ความว่า ลุงพนักงานขับรถเป็น พนักงานคนแรก เป็นคนขยัน ซื่อสัตย์ MD ไว้ใจมาก ทำงานมานานเกือบ 20 ปี แล้ว MD ไว้ใจมาก และขึ้นเงินเดือนทุกปีๆ ละ 10-20% จากฐานเงินเดือน..แต่ ลุงพนักงานขับรถ ทำงานเดิมๆ คือ เช้าไปบ้าน MD รับมาที่บริษัท คอย MD พากลับที่พัก หรือมีธุระข้างนอก ก็พาไปและคอยรับกลับ

...โครงสร้างเงินเดือน (Salary Structure) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารการจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้างให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ไม่ให้จ่ายเกินไปกว่าระดับงาน ถ้าพนักงานทำงานแบบเดิม..ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงาน +++ แต่ถ้าพนักงานมีความสามารถ ก็จะได้รับการเลื่อนระดับงานและรับเงินเดือนตามระบบโครงสร้างเงินเดือน +++ 
โครงสร้างเงินเดือนมี 4 รูปแบบ คือ 
1.แบบจ่ายตามชิ้นงาน หรือ Piece Rate Structure 
2.แบบค่าจ้างตายตัว หรือ Fixed Rate Structure ตัวอย่างเช่น การจ่ายตามมาตรฐานฝีมือ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กำหนดอัตราค่าจ้างตามระดับฝีมือ เช่น ช่างเชื่อมแม็กมี 3 อัตราตามระดับฝีมือ  (ที่มา http://www.dsd.go.th/standard/Region/showhilight/2457)

3. แบบขั้นเงินเดือน หรือ Step Rate Structure กำหนดราคาของขั้น แบบราชการ (เดิม)ในระบบ "ซี" หรือ PC (Position Classification) โดยกำหนดเป็นระดับตำแหน่งมาตรฐานกลาง (Common Level) 11 ระดับ หรือ "ซี"เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบค่างานในแต่ละส่วนราชการให้เป็นไปตามมาตรฐานกลาง และใช้เงินเดือนเดียวกับทุกประเภทตำแหน่ง...(ปัจจุบันปรับปรุงให้เงินเดือนพื้นฐานสอดคล้องกับ "ค่างาน" จัดเป็น broadband 4 กลุ่ม (band) อิสระจากกัน แต่ละกลุ่มมี 2-5 ระดับ คือ กลุ่มทั่วไป (O) กลุ่มวิชาการ (P) กลุ่มอำนวยการ (M) และ กลุ่มบริหาร (S) ...และจ่ายเงินเดือน-ค่าจ้าง แบบ "แท่ง" หรือ แบบที่ 4 ช่วงเงินเดือน


4.แบบช่วงเงินเดือน หรือ Range Rate Structure หรือ กระบอกเงินเดือน โดยกำหนดช่วงการจ่าย ค่าต่ำสุด (Minimum) ค่ากลาง (Mid Point) และ ค่าสูงสุด (Maximum) ของแต่ละกระบอก เป็นรูปแบบที่หลายบริษัทนิยมใช้ในปัจจุบัน 






 ()บริษัทจำเป็นต้องมีโครงสร้างเงินเดือนหรือไม่นั้น?? ...พี่คิดว่า... แล้วแต่ดุลยพินิจตามความเหมาะสมของธุรกิจ-บริษัท เพราะหลายบริษัทไม่มีโครงสร้างเงินเดือน...แต่ผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารเงินเดือนของพนักงานได้อย่างเป็นธรรม ไม่สร้างความรู้สึกอยุติธรรมกับพนักงาน..บริษัทเหล่านี้พี่ถือว่ามีโครงสร้างเงินเดือนในการบริหาร..แต่เป็นโครงสร้างไม่เป็นทางการ
(◡‿◡✿) ..เคยทำงานกับหลายบริษัทที่มีโครงสร้างเงินเดือนอย่างเป็นระบบ...แต่มีปัญหาในการบริหารโครงสร้างเงินเดือนซะงั้น!!! 
·(¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯)*¤°• •:*´¨`*:·(¯`°.•°•.* * .•°•.°´¯)*¤°• •:*´¨`*:
ครูพี่ตุ้ม (13-08-59)
#HROD #Consultant



วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คุณประกอบ เพชรรัตน์...ผู้บริหาร “ผู้นำ”

+++ตลอดชีวิตการทำงานกว่า 30 ปี โดยเฉพาะช่วงที่ทำงานกับ “ผู้บังคับบัญชา” คุณประกอบ เพชรรัตน์ หรือ “พี่กอบ” คนที่บ้านบ่นว่า “บ้างาน” ไม่เคยมีวันหยุด หอบงานกลับหอพักทุกวัน กลับบ้านที่กรุงเทพฯ เดือนละครั้ง พี่มีความสุขในการทำงาน ไม่ได้มุ่งงานเพราะเป็นภาระความรับผิดชอบในหน้าที่ แต่เพราะ “ผู้บังคับบัญชา” ที่เก่งและเป็น “ผู้นำ” เป็นแรงผลัก Drive สำคัญที่สนับสนุนการทำงานของพี่ ทำให้พี่ตั้งใจและลุยงานให้เสร็จ แม้ว่าจะมีบริษัทที่มั่นคงกว่าที่ และคุ้นเคยกับผู้บริหารและพนักงานตั้งแต่สมัยทำงานเป็นที่ปรึกษา เสนอตำแหน่งและค่าตอบแทนที่มากกว่า จริงๆ สนใจมาก แต่ต้องปฏิเสธ เพียงคำพูดสั้นๆ ของ “พี่กอบ” “...อยู่ช่วยงานด้วยกันจนผมเกษียณปี 2559 หรือ ตาย...ผมไม่รู้ว่าแบบไหนจะมาก่อนกัน ได้ไหม นอกจากพี่.. มีพนักงานระดับบริหารและเชี่ยวชาญ 4 ท่าน จะลาออกไปทำงานกับบริษัทที่มีชื่อเสียงและมั่นคงกว่า..แต่ สุดท้ายทุกท่านไม่ได้ลาออก และคิดเหมือนกันอยู่ ช่วยงาน “พี่กอบ” จนเกษียณก่อน แล้วค่อยคิดกันใหม่...แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน “พี่กอบ” ร่างกายอ่อนแอ ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลพญาไท และจากลาไปอย่างไม่มีวันกลับ

 ...ในทางกลับกัน “ผู้บังคับบัญชา” ประเภท เจ้านาย หรือ Boss ที่ดีแต่สั่ง ช่างตำหนิ แย่งเครดิตลูกน้อง ชั่วโยนใส่ ก็เป็นสาเหตุสำคัญเหมือนกันที่ทำให้พี่ต้องตัดสินใจแบบสิ้นคิด หรือคิดสั้น คือ ยังไม่มีงานใหม่รองรับ...แต่ไม่คิดจะ “ทนอยู่” ลาออกไปตายดาบหน้า...แต่คงเอ่ยนามเป็นตัวอย่างไม่ได้ จะกลายเป็นหมิ่นประมาท หรือนินทาว่าร้าย ...รู้แต่เพียงว่า ผู้บังคับบัญชาประเภท “เจ้านาย” หรือ Boss มีมากกว่า ผู้บังคับบัญชาประเภท “ผู้นำ” หรือ Leader 

ความแตกต่างของ ผู้บริหารประเภท “เจ้านาย (Boss)” กับ “ผู้นำ (Leader)” สรุปได้ตามภาพ Infographic ‘Difference between a Boss and a Leader’ จาก http://micha...nd-=lesder/ 


(◕‿◕✿) ผู้บริหาร ที่เป็น “ผู้นำ” จากประสบการณ์ทำงานกับ คุณประกอบ เพชรรัตน์ คือ

«ผู้ที่มีคุณลักษณะ (Trait):  ฉลาด กล้าหาญ ยุติธรรม (Smart-Courage-Fair) 

«ผู้ที่มีคุณค่าร่วม (Shared Value) ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด (Dedicated-Integrity-Sufficient) 

«หลักการทำงาน (Working Process) ฟังเข้าใจ สั่งได้ นำเป็น มีกำไร (Knowing-Delivering-Leading-Achieving) “พี่กอบ” เป็นผู้ฟังที่ดี ฟังจนจบ ถามจนเข้าใจ จึงจะออกความเห็น/สั่งหรืออนุมัติ และ “พี่กอบ” กล้าตัดสินใจ และรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจ หากเป็นผลดี “พี่กอบ” จะยกเครดิตให้ลูกน้อง (Give Credit) ทั้งๆ ที่ “พี่กอบ” เป็น Coach ช่วยให้บังเกิดผลสำเร็จนั้น (◡‿◡✿



ด้วยความระลึกถึง แด่ “พี่กอบ”  คุณประกอบ เพชรรัตน์...ผู้บริหาร “ผู้นำ”

'゚・..:* *.:*'゚・..:* *'゚・..:* *.:*'゚・

ครูพี่ตุ้ม (5-8-59)

#HROD #Consultant