(◕〝◕) เมื่อวานได้มีโอกาสฟังเพลง " รักในดวงใจนิรันดร์" ของ CU Band ...ต้องขอชื่นชมผู้ประพันธ์ คุณชนกพร พัวพัฒนกุล นักดนตรี CU Band ปี 2541 - 2545 ที่ร้อยกรองรวมเพลงพระราชนิพนธ์ 28 เพลงได้อย่างไพเราะ ซาบซึ้งใจ และ คุณอัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ CU Band 2542 - 2546 ที่เรียบเรียงทำนอง และขับร้องได้ไพเราะเพราะพริ้ง จับใจยิ่งนัก... ความหมายของเพลง " รักในดวงใจนิรันดร์" แทนความรู้สึกใจสลาย อาลัยรัก พระราชาสถิต...ในดวงใจพสกนิกรชาวไทย...นิรันดร์ (´ᗣ`)
๐๐๐ แว่ว เสียงราษฎร์ร่ำไห้ใน ยามค่ำสายฝน พรำ แผ่นดินของเรา ผอง
เมื่อ อาทิตย์อับแสง ลาน้ำตานอง
สายลม ต้อง แสงเทียน ดับลับชั่วกาล
ศุกร์สัญลักษณ์ บังคมลา พระมหามงคล
โอ้ ค่ำแล้ว ในกมลสิ้น คำหวาน
คืน ไร้เดือน ลมหนาว นั้นยาวนาน
กว่าจะผ่านห้วงเวลา ชะตาชีวิต
เมื่อโสมส่อง เตือนใจ ให้ยั้งอยู่
หักอาลัย ยิ้มสู้ ประกอบกิจ
เพื่อ ความฝันอันสูงสุด จักอุทิศ
หวังตามรอยบาทบพิตรด้วยใจภักดิ์
ผ่าน ยามเย็น เห็น แสงเดือน ที่เคลื่อนคล้อย
เราสู้ คอยอดทนให้ชนประจักษ์
ทำความดีด้วย ดวงใจกับความรัก
เพื่อทรงพัก ไกลกังวล ที่บนฟ้า
เจ้า แก้วตาขวัญใจ อย่าไห้หวน
จงช่วยชวนกัน ฝัน ถึงวันหน้า
ใกล้รุ่ง แล้วประเทศไทยในน้ำตา
พระราชาสถิต ในดวงใจนิรันดร์
๐๐๐รักนี้จะอยู่ในดวงใจนิรันดร์ ๐๐๐
゚'゚・✿.。.:* *.:。✿*゚'゚・✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช รวมทั้งสิ้น 49 เพลง
เพลงแรก คือ "แสงเทียน" หรือ Candleligh Blues ในเดือนเมษายน 2489 และเพลงสุดท้าย คือ เพลง "เมนูไข่" เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2538
เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island"
เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว คือ ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และ รัก ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์, ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์), ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น
ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงสุนทราภรณ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ข้อมูล: Wikipedia.org゚'゚・✿.。.:* *.:。✿*゚'゚・✿.。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.。.:* *.:。
#CU Band #พระมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น