วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สถิตในหทัยราษฎร์...นาถนิรันดร์


(´._.`) จำได้...ตั้งแต่เล็กจนโต เราต้องดูข่าวพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านช่วงเวลาข่าวทุกค่ำ รับรู้ว่าพระองค์ท่านเหนื่อยมาก สงสัยบ่อยครั้ง วันหนึ่งมี 24 ชั่วโมง ท่านพักตอนไหน ...และที่ชอบมากที่สุดคือพระราชดำรัสวันที่ 4 ธันวาคม ก่อนวันเฉลิมฯ ของทุกปี จะได้ความรู้สรุปเหตุการณ์บ้านเมือง แนวทางแก้ไข และจะได้ผลลัพธ์อะไร จากพระราชดำรัสนั่นแหละ และพรปีใหม่ พร้อม ส.ค.ส ที่พระองค์ท่านอวยพรประชาชนแต่ละปี ไม่ซ้ำ และงดงามในคำพูด ชัดเจน เข้าใจง่าย ...หากนำปฏิบัติจะเกิดประโยชน์และความเจริญรุ่งเรืองแก่ชีวิตยิ่ง

).ที่บ้านเราไม่ค่อยมีเงิน แม่จะนำหนังสือนิตยสารสกุลไทย ที่รับจากแม่ค้าไปส่งให้ลูกค้า มาให้ลูกๆ อ่านก่อนตอนเย็น... ต้องดูอย่างระมัดระวัง และรีบอ่าน เพราะต้องไปให้ลูกค้าในวันถัดไป...แม่จะลงทุนซื้อเฉพาะหน้าปกรูปพระองค์ท่าน พระราชินี และฟ้าหญิง และบรรจงตัดเก็บ ไม่เคยทิ้ง รวมทั้งหนังสือภาพเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น งานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นต้น..แต่น่าเสียดายมากภาพและกระดาษก็เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เช่นเดียวกับนิตยสารที่มีคุณค่ายิ่ง  "นิตยสารสกุลไทย"

...จนถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เหตุการณ์ที่ไม่อยากรับรู้ ไม่อยากเห็น ไม่อยากให้เกิดขึ้นในช่วงที่เรามีชีวิตอยู่ ก็เกิดขึ้น เกินกว่าจะบรรยายความรู้สึกได้ ภาพของพสกนิกรชาวไทยที่ โรงพยาบาลศิริราช ช่วงเช้า ร่วมกันสวดมนต์ด้วยความหวังให้พระองค์ที่รักนับถือยิ่งหายจากพระประชวร กลายเป็นต้องรับฟังข่าวร้ายที่สุด ในวันเดียวกัน 

() ...เมื่อเช้าดูโทรทัศน์ ภาพยนต์เพลงสรรเสริญพระบารมีของ ท่านมุ้ย ทำให้นึกถึงในวัยเด็ก ร้อยเรียงได้งดงาม ทั้งยังได้มีโอกาสฟังพระดำรัสของพระองค์ท่าน ความรู้สึกรักเทิดทูนในหลวงของปวงชนชาวไทย เป็นภาพยนต์ที่ทรงคุณค่ายิ่ง ขออนุญาตนำมาเผยแพร่เพื่อแบ่งปันความรู้สึกดีๆ เก็บไว้ในความทรงจำ นิจนิรันดร์
..:* *.:*'゚・..:* *.:*¨ ..:* *.:*¨

พระราชดำรัส 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร 
พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี 
วันที่ 31 ธันวาคม 2519



ถวายคารวาลัย          ครรไลลา
พระเสด็จสู่ฟ้า              เสวยสวรรค์
สถิตในหทัยราษฎร์        นาถนิรันดร์
ประทับมิ่ง ประทับขวัญ   ประชาชน

ผองพสกนิกรชาวไทยน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณตราบนิจนิรันดร์

ที่มา : Thai PBS News เผยแพร่เมื่อ 13 พ.ย. 2016 ภาพยนต์เพลงสรรเสริญพระบารมี โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
#HROD #Consultant


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระราชาสถิต...ในดวงใจนิรันดร์

() เมื่อวานได้มีโอกาสฟังเพลง " รักในดวงใจนิรันดร์" ของ CU Band ...ต้องขอชื่นชมผู้ประพันธ์ คุณชนกพร พัวพัฒนกุล นักดนตรี CU Band ปี 2541 - 2545  ที่ร้อยกรองรวมเพลงพระราชนิพนธ์ 28 เพลงได้อย่างไพเราะ ซาบซึ้งใจ  และ คุณอัจฉริยา ดุลยไพบูลย์ CU Band 2542 - 2546 ที่เรียบเรียงทำนอง และขับร้องได้ไพเราะเพราะพริ้ง จับใจยิ่งนัก... ความหมายของเพลง " รักในดวงใจนิรันดร์" แทนความรู้สึกใจสลาย อาลัยรัก พระราชาสถิต...ในดวงใจพสกนิกรชาวไทย...นิรันดร์ )
๐๐๐ แว่ว เสียงราษฎร์ร่ำไห้ใน ยามค่ำ

       สายฝน พรำ แผ่นดินของเรา ผอง
       เมื่อ อาทิตย์อับแสง ลาน้ำตานอง
       สายลม ต้อง แสงเทียน ดับลับชั่วกาล
       ศุกร์สัญลักษณ์ บังคมลา พระมหามงคล
       โอ้ ค่ำแล้ว ในกมลสิ้น คำหวาน
       คืน ไร้เดือน ลมหนาว นั้นยาวนาน
       กว่าจะผ่านห้วงเวลา ชะตาชีวิต
       เมื่อโสมส่อง เตือนใจ ให้ยั้งอยู่
       หักอาลัย ยิ้มสู้ ประกอบกิจ
       เพื่อ ความฝันอันสูงสุด จักอุทิศ
       หวังตามรอยบาทบพิตรด้วยใจภักดิ์
       ผ่าน ยามเย็น เห็น แสงเดือน ที่เคลื่อนคล้อย
       ราสู้ คอยอดทนให้ชนประจักษ์
       ทำความดีด้วย ดวงใจกับความรัก
       เพื่อทรงพัก ไกลกังวล ที่บนฟ้า
       เจ้า แก้วตาขวัญใจ อย่าไห้หวน
       จงช่วยชวนกัน ฝัน ถึงวันหน้า
       ใกล้รุ่ง แล้วประเทศไทยในน้ำตา
       พระราชาสถิต ในดวงใจนิรันดร์
       ๐๐๐รักนี้จะอยู่ในดวงใจนิรันดร์ ๐๐๐


'゚・..:* *.:*'゚・..:* *.:*¨ ..:* *.:
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช รวมทั้งสิ้น 49 เพลง
เพลงแรก คือ "แสงเทียน" หรือ Candleligh Blues ในเดือนเมษายน 2489 และเพลงสุดท้าย คือ เพลง "เมนูไข่" เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2538 
เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island
เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว คือ ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และ รัก  ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยาศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นครท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยานายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์)ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น
ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงสุนทราภรณ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    ข้อมูล: Wikipedia.org

'゚・..:* *.:*'゚・..:* *.:*¨ ..:* *.:

#CU Band #พระมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย