วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

OD: Organization Development ...องค์การประสิทธิภาพ

ก่อนจะพูดถึง OD:Organization Development ขออธิบายสรุป เรื่อง องค์การประสิทธิภาพ หรือ Organizational Efficiency ซึ่งเป็นเป้าประสงค์ของการทำ OD จาก Clip เดินเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการนำพาเกวียน (องค์การ) Struggle & Co. Inc. มุ่งสู่ยอดเขา (เป้าหมายของธุรกิจ) โดย “คน” ที่มีความสามารถและพฤติกรรมในการทำงานหลาประเภท ทั้ง ยอดมนุษย์พนักงาน มนุษย์เจ้าปัญหา มนุษย์กินแรง จอมยุทธ์ฉุดรั้ง และการทำงานที่ไม่เป็นระบบ ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน 

แตกต่างจากเกวียน Working & Co. Inc. ที่ “คน” มุ่งมั่นและออกแรงสุดความสามารถด้วยความพร้อมเพรียงสามารถวิ่งแซง Struggle & Co. Inc ทั้งๆ ออกตัวทีหลัง
นับว่าโชคดีของ Struggle & Co. Inc ที่ผู้นำยอดมนุษย์หยุดคิด พินิจ วินิจฉัยประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรค  และปรับกระบวนการทำงานภายใน จัดวางกำลังคนทำงานใหม่ตามสามารถของคน  และ (No) Struggle & Co.Inc. เร่งเครื่องนำพาเกวียนสู่เป้าหมายได้

การพัฒนาองค์การ (OD: Organization Development) คือกระบวนการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การเพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จในด้านผลกำไร ความพึงพอใจของลูกค้า ตลอดจนบุคลากรในองค์การเกิดความเข้าใจ และต้องการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง จนทำให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นวัฒนธรรมองค์การในเวลาต่อมา โดยทั่วไปมักจะหมายถึงภาพรวมทั้งองค์การและมุ่งเน้นให้ความสำคัญในด้าน
§พฤติกรรมองค์การด้านพฤติกรรมศาสตร์ (OB:Organization Behavior) 
§กลยุทธ์(Strategies) โครงสร้าง(Structure) กระบวนการ (Process)

กระบวนการพัฒนาองค์การ  (OD Process)

1.  Problem Identification: ระบุปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมาย
2.  Collection of Data: รวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหาจากการสัมภาษณ์ สอบถาม หรือ สังเกต
3. Diagnosis: การวินิจฉัย: วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับทัศนคติสมมติฐานทรัพยากรที่มีอยู่ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยองค์การที่นิยม เช่น  SWOT Analysis,  PEST Analysis, 7’s Model, Five-Force Model, 9 Cells, SHINDAN, Head Hand Heart, Nadler and Tushman Congruence Model, Heart, Six Box Model เป็นต้น 
4. Planning & Implementation: การวางแผน กำหนดกิจกรรมต่างๆ และการดำเนินกิจกรรมที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
5. Evaluation Feedback: ประเมินผล ตรวจสอบว่ากิจกรรมต่างๆ ได้นำไปสู่การปฏิบัติตามเจตนารมณ์แล้วหรือไม่ และผลลัพธ์ที่ได้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การมากน้อยเพียงใด และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามที่คาดหวังจะต้องมีการจัดการให้เกิดความคงทน ไม่กลับไปสู่สภาวะเดิมภายในระยะเวลาอันสั้น 

.*.* สภาวะในปัจจุบัน องค์การ(บริษัท) ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงและความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก ทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี วงจรชีวิตของสินค้า ความต้องการของผู้บริโภค องค์การจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมด้วยการพัฒนาสมรรถนะขององค์การ (Organizational Competency) เพื่อสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้องค์ความรู้ที่องค์การมีอยู่เพื่อสร้างสินค้าหรือบริการที่มีคุณสมบัติสูงกว่าเดิมหรือมีต้นทุนที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

.*.การที่องค์การสามารถสร้างนวัตกรรมออกมาได้นั้น "คน" ที่มีศักยภาพที่ดีเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะการดำเนินงานขององค์การต้องอาศัย "คน" แทบทั้งสิ้น ตั้งแต่ การจัดวางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน การตัดสินใจ การวิจัยและพัฒนา กระบวนการผลิต การจัดจำหน่ายไปจนถึงการให้บริการลูกค้าหลังการขาย หาก "คน" ในแต่ละส่วนมีความสามารถในการทำงานที่ดี ก็จะส่งผลให้ความสามารถขององค์การ (Organization Capabilities) ในการดำเนินงานขององค์การสูงขึ้นไปด้วย ซึ่ง ISO9001:2015 ให้ความสำคัญในเรื่องนี้และเพิ่มข้อกำหนดในข้อ 7.16 และ 7.2 และกระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 17 ตุลาคม 2559 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 กันยายน 2561

ครูพี่ตุ้ม 13-01-2561
อ้างอิง:  
★ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/0311/08%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%882.pdf

★ ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ราชกิจจานุเบกษา ISO9001:2015 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/299/9.PDF 


 ゚      '゚・..:* *.:*'゚・..:* *.:*¨ ..:* *.:*¨ ..:*

#OD #Organization Development #Organizational Efficiency #การพัฒนาองค์การ #ความสามารถขององค์การ #สมรรถนะขององค์การ #ISO9001: 2015

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น